แนะนำเอกสารจดหมายเหตุศาลปกครอง / บทความ / วัตถุสิ่งของ |
แนะนำเอกสารจดหมายเหตุศาลปกครอง / บทความ / วัตถุสิ่งของ |
1. แหล่งที่มาของเอกสารจดหมายเหตุศาลปกครอง มี 2 แหล่ง ได้แก่
1.1 เอกสารจากหน่วยงานภายในศาลปกครอง
1) รับมอบเอกสารจากหน่วยงานภายใน ทุกสิ้นปีปฏิทินทุกหน่วยงานในศาลปกครองจะทำการสำรวจและคัดเลือกเอกสารสำคัญๆ ตาม “หลักเกณฑ์การจัดเก็บเอกสารในหอจดหมายเหตุศาลปกครอง” โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. เอกสารเกี่ยวกับสำนวนคดีสำคัญ 2. เอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดี
3. เอกสารการทำงานที่สนับสนุนการดำเนินงานของศาลปกครอง 4. เอกสารส่วนบุคคล ผลงาน บทความ งานวิจัยที่สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาลปกครอง
และ 5. สื่อสิ่งพิมพ์ วัตถุสิ่งของ หรือของที่ระลึกต่างๆ ส่งมอบให้กลุ่มจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
2) ร้องขอเอกสารจากหน่วยงานภายใน (งานจดหมายเหตุเชิงรุก) กลุ่มจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์จะพิจารณาคัดเลือกกิจกรรมสำคัญๆ
ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ที่ดำเนินการอยู่ แล้วจัดทำหนังสือขอความร่วมมือหน่วยงานเพื่อขอให้เตรียมจัดเก็บเอกสารและสิ่งของที่เป็นผลผลิตของกิจกรรมสำคัญ
นั้นและส่งมอบให้กลุ่มจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อเป็นการป้องกันเอกสารของกิจกรรมสำคัญนั้นมิให้สูญหายและทำให้จัดเก็บเอกสารได้ครบถ้วน
1.2 เอกสารจากหน่วยงานภายนอก
กลุ่มจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ได้ดำเนินการรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับศาลปกครอง เช่น เอกสารการแต่งตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน พระราชบัญญัติ
เคาน์ซิลออฟสเตด พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเอกสารการดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยจัดทำสำเนาเอกสารดังกล่าวจากหน่วยงานภายนอก อาทิ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักหอสมุดแห่งชาติ และ
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
2. บทความ
![]() |
3. วัตถุสิ่งของ
สมุดไทย (จำลอง) บันทึกข้อพระราชบัญญัติสำหรับตัวเคาน์ซิลลอร์ออฟสเตด ในรัชกาลที่ 5(ต้นฉบับจัดเก็บอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ)
กลองวินิจฉัยเภรี (จำลอง) ที่ประชาชนใช้ตีกลองร้องทุกข์ถวายฎีกาต่อพระเจ้าแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 3 |
4. นิทรรศการและกิจกรรม
ตราสัญลักษณ์ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง