สำหรับภาพรวมของศาลปกครอง ปีพ.ศ. 2553 แสดงผลลัพธ์ทางสถิติที่ดี ในทุกระดับศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองอุทธรณ์และสภาแห่งรัฐ ปริมาณคดีที่ได้รับการพิจารณามีจำนวนมากกว่าปริมาณคำฟ้องที่รับเรื่องไว้พิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งมีปริมาณคำฟ้องที่รับเรื่องไว้พิจารณาจำนวน 175,377 คดี และสามารถตัดสินคดีแล้วเสร็จได้ถึง 187,061 คดี สำหรับคดีคงค้างที่รอการพิจารณาจำนวน 173,246 คดีจนถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา ศาลปกครองมีความล่าช้าโดยเฉลี่ยในการพิจารณาคดีน้อยกว่า 1 ปี สำหรับศาลปกครองอุทธรณ์ ใช้เวลาโดยเฉลี่ยในการพิจารณาคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบเพียง 13 เดือน โดยศาลปกครองอุทธรณ์ได้รับคำฟ้องไว้จำนวน 12,408 คดี และสามารถพิจารณาคดีแล้วเสร็จจำนวน 27,784 คดีจากคดีคงค้างที่รอการพิจารณาจำนวนทั้งสิ้น 28,814 คดีจนถึงวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ท้ายสุด ในส่วนของสภาแห่งรัฐ คดีคงค้างที่รอการพิจารณาคดีมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถตัดสินคดีแล้วเสร็จได้ถึง 9,940 คดีจากคำฟ้องที่รับเรื่องไว้พิจารณาทั้งหมด 9,374 คดี เพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดระดับจำนวนคดีคงค้างให้มีปริมาณต่ำสุดในประวัติศาสตร์ จำนวนคดีที่รอการพิจารณา ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 มีจำนวนเพียง 7,284 คดี ซึ่งแสดงให้เห็นความสามารถในการพิจารณาคดีของศาลในระยะเวลาเพียง 9 เดือน จากปรากฏการณ์ครั้งใหม่ที่ได้จากตัวเลขโดยรวมทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นบทบาทหลักของศาลปกครองเมื่อพิจารณาในแง่ประเด็นปัญหาลำดับต้นของความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (โปรดดูบทความข่าวถัดไป) นอกเหนือจากตัวเลขดังกล่าวข้างต้นแล้ว แนวคำพิพากษาคดีในปี พ.ศ. 2553 ยังแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นเอาใจใส่ที่จำเป็นต่อการพัฒนากฎหมายมหาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เชื่อมโยงกันของกฎหมายแห่งชาติกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายยุโรป การรับรองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การดำเนินการทางเศรษฐกิจ และสนธิสัญญามหาชน แต่ศาลปกครองยังคงมีเรื่องกระบวนการ วิธีการ การลดเอกสารโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแทน เรื่องที่ยังต้องแก้ไขและความท้ายทายอื่นๆ รออยู่ ผลลัพธ์ที่ได้ในปี พ.ศ. 2553 ในช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่องกันหลายปีก่อนหน้านี้จะทำให้ศาลปกครองสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ด้วยความกระตือรือร้นและความไว้วางใจ
ศาลปกครอง
วิชาการ
สืบค้นข้อมูล
ประชาสัมพันธ์
บริการประชาชน