ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ประเด็นเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญทำให้ผู้มีสิทธิฟ้องคดีสามารถขอให้คณะกรรมการรัฐธรรมนูญสั่งให้สภาแห่งรัฐหรือศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาความชอบธรรมของข้อบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะในการคุ้มครองเสรีภาพและสิทธิขั้นพื้นฐาน ได้มีส่วนร่วมในการจัดการกับกลไกใหม่ครั้งนี้อย่างกระตือรือร้นด้วยความพยายามอย่างเต็มความสามารถ โดยได้นำกลไกดังกล่าวมาปรับใช้กับกระบวนการการทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน ตลอดจนวิธีการทำงานของตนในทุกระดับขั้นตอน ตามข้อมูลที่ชัดเจน ภายในระยะเวลา 1 ปี มีคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญถึง 1,042 เรื่องสู่ตุลาการศาลปกครองและศาลปกครองทุกแห่งรวมกัน 205 คดีสู่สภาแห่งรัฐ และ 837 คดีสู่ศาลปกครองและศาลปกครองอุทธรณ์ สำหรับศาลปกครองอุทธรณ์นั้น 116 คดีถูกส่งต่อไปยังสภาแห่งรัฐ (คิดเป็นอัตราการส่งต่อไปยังสภาแห่งรัฐ 17%) 282 คดีได้รับการตรวจสอบจากสภาแห่งรัฐในช่วงเวลานี้ 64 เรื่องได้รับการตีกลับไปยังคณะกรรมการรัฐธรรมนูญ (คิดเป็นอัตราการส่งกลับ 23%) ทั้งนี้ ประเด็นคำถามหลักว่าด้วยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญจะเกี่ยวกับภาษีอากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคลากรของรัฐ และสิทธิด้านการสาธารณสุข จำนวนเรื่องที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลพวงจากความสำเร็จในการปฏิรูปที่ได้จากการทบทวนรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และจากการใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552 สำหรับ 25% ของคดีที่ส่งต่อมาจากสภาแห่งรัฐ คณะกรรมการรัฐธรรมนูญได้พิจารณาแล้วเห็นว่า กฎหมายที่มีปัญหาอยู่ประกอบด้วยบทบัญญัติที่ขัดแย้งกับสิทธิและเสรีภาพที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญ ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นส่วนที่ศาลปกครองดำเนินการโดยการใช้กระบวนการดำเนินงานแบบใหม่ได้อย่างดี ประเด็นความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในปีนี้ส่งผลเชิงบวกเป็นครั้งแรก คือ การปฏิรูปได้ผล ผู้มีสิทธิฟ้องคดีได้ตั้งประเด็นซักถาม ศาลปกครองพิจารณา คณะกรรมการรัฐธรรมนูญตัดสิน ซึ่งในบางกรณีนั้น ยังคงเป็นส่วนน้อยอยู่ทำให้คณะกรรมการรัฐธรรมนูญยกเลิกบทบัญญัติกฎหมายที่ความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญสร้างความเสียหายต่อหลักนิติรัฐในประเทศฝรั่งเศส
ศาลปกครอง
วิชาการ
สืบค้นข้อมูล
ประชาสัมพันธ์
บริการประชาชน