คณะกรรมการถาวรเพื่อการตรวจสอบศาลปกครอง (La mission permanente d’inspection des juridictions administratives (MIJA)) มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของศาลปกครองต่างๆ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และเมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการฯ ได้ประมวลผลระเบียบวิธีไว้อย่างชัดเจนและดำเนินการใช้มาตรฐานตัวทดลองเพื่อให้วัตถุประสงค์ของภารกิจตรวจสอบมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประธานศาลปกครองพัฒนางานบริการให้แก่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีได้ดียิ่งขึ้น ในปี 2553 การทำหน้าที่ตรวจสอบเป็นไปตามระเบียบวิธีรูปแบบใหม่ที่ได้นำมาใช้ตั้งแต่ปลายปี 2552 ในระเบียบวิธีในรูปแบบใหม่นี้ระบุว่าจะต้องมีการประชุมเตรียมความพร้อมกับประธานศาลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนก่อนที่คณะกรรมการฯ จะมาตรวจสอบ คำชี้แนะที่ชัดเจนของคณะกรรมการฯ และการตั้งข้อสังเกตของประธานศาลต้องเป็นประเด็นที่แยกออกมา จากนั้นต้องจัดทำรายงานเพื่อแจกจ่ายให้แก่ตุลาการทุกท่านและพนักงานคดีศาลปกครองทุกคนภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการฯ ตั้งแต่ตุลาคม 2553 เป็นต้นมา คณะกรรมการฯ ได้ทดลองใช้มาตรฐานที่ประกอบด้วยหัวข้อย่อย 4 ประเด็น ดังนี้ “การบริหารงานศาล” “ภารกิจงานของตุลาการ” “การจัดการศาล” และ “ศาลและผู้มีสิทธิฟ้องคดี” ในแต่ละประเด็นจะระบุวัตถุประสงค์ไว้ 3-8 ข้อ (อาทิ ในส่วนของภารกิจงานของตุลาการก็จะมีวัตถุประสงค์ด้าน “การพัฒนาคุณภาพทั้งหมดของการให้บริการ” “การจัดการคดีค้าง” “การพัฒนาการออกประกาศให้รวดเร็วยิ่งขึ้น” เป็นต้น) วัตถุประสงค์เหล่านี้ประกอบไปด้วยใบรายงาน ข้อคิดเห็นและคำชี้แนะของคณะกรรมการฯ โดยสรุปแล้วก็คือมีประเด็นกว่า 80 ข้อ ที่จะต้องทำการวิเคราะห์กันนับแต่นี้ต่อไป นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดทำคู่มือการสัมภาษณ์สำหรับตุลาการและพนักงานคดีและคู่มือ การสัมภาษณ์เฉพาะสำหรับประธานศาลปกครองด้วย คณะกรรมการฯ จะแจกเอกสารที่ระบุวัตถุประสงค์ การทำหน้าที่ตรวจสอบและวิวัฒนาการของระเบียบวิธีของคณะกรรมการฯ ให้แก่ศาลปกครองที่จะต้องถูกตรวจสอบก่อนการตรวจสอบของคณะกรรมการฯ ในท้ายที่สุด ประธานคณะกรรมการตรวจสอบฯ จะเป็น ผู้กำกับดูแลภารกิจลำดับแรก “หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบฯ” ตามคู่มือวิธีการตรวจสอบแบบใหม่ที่มุ่งให้การควบคุมการเสนอข้อชี้แนะของคณะกรรมการฯ เป็นไปอย่างสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด
ศาลปกครอง
วิชาการ
สืบค้นข้อมูล
ประชาสัมพันธ์
บริการประชาชน