การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) |
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) | |
พรรณประภา |
|
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึง อยู่เสมอในปัจจุบัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดผลกระทบและสร้าง ความเดือดร้อนเสียหายให้มนุษย์เราเป็นอย่างมาก เช่น ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น แต่เมื่อมองไปถึงสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็จะพบว่า เกิดจากการกระทำของมนุษย์นั่นเอง กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น กิจกรรมต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่มีการเผาไหม้ถ่านหินและน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังมีกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ เช่น การขับขี่ยวดยานพาหนะ การใช้เชื้อเพลิงหุงต้มประกอบอาหาร การใช้ไฟฟ้า รวมทั้งการทำการเกษตรบางประเภทยังมีผลทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน กิจกรรมที่กล่าวมาเหล่านี้ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ เพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) และส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global warming) ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
|
![]() ที่มาภาพ http://www.env.gov.nl.ca/env/climate_change/GreenhouseEffect.jpg |
|
หลายฝ่ายได้ตระหนักถึงปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงมี การจัดกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวกับการรณรงค์ให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ การลดภาวะโลกร้อน กิจกรรมที่จะยกตัวอย่างในวันนี้ คือ การส่งเสริมการใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ซึ่งผู้บริโภคจะได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ "คาร์บอนฟุตพริ้นท์" หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ที่จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ ตั้งแต่กระบวนการหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดเมื่อกลายเป็นของเสีย (ที่มาข้อมูล http://www.tgo.or.th/) ดิฉันมีภาพตัวอย่างคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนผลิตภัณฑ์ของประเทศต่างๆ มาให้ชมกันด้วย นะคะ โดยในภาพที่ 1 – 3 เป็นภาพผลิตภัณฑ์ของสหราชอาณาจักร ส่วนภาพที่ 4- 6 เป็นภาพผลิตภัณฑ์ของฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ค่ะ |
|
ที่มาภาพ http://blog.thenaturalstrategy.com/wp-content/uploads/2011/03/Carbon-Reduction-Label1-300x225.jpg |
|
ที่มาภาพ http://graphics8.nytimes.com/images/blogs/greeninc/milklabel.jpg |
|
ที่มาภาพ http://constantine.typepad.com/.a/6a0120a7fc3be9970b016763973e85970b-800wi |
|
ที่มาภาพ http://3.bp.blogspot.com/_XMm2OsWNvVg/SI-LyC6l-BI/AAAAAAAAABg/uQDM_rO5i2Q/s320/Casino.JPG |
|
ที่มาภาพ http://en.amorepacific.com/resources/images/sustain/climate_miseenscene_shampoo.jpg |
|
ที่มาภาพ http://www.ag.ndsu.edu/news/columns/biofuels-economics/new-energy-economics-japanese-consumers-what-is-carbon-footprint-of-n-d-grains/2009-02-12.4505918942/image |
|
สำหรับศาลปกครองนั้นก็ได้มีการจัดกิจกรรมในเรื่องที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยเช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 21 – 22 สิงหาคม ที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความมั่นคงทางพลังงาน ในหัวข้อ “การจัดการภัยพิบัติสาธารณะ : ผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมของศาลปกครอง โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ คอนราด อาเดนาวร์ี กิจกรรมในวันแรก เป็นการเดินทางไปศึกษาดูงานในพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรม ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการบริหารจัดการภัยพิบัติสาธารณะและผลกระทบต่อโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยผู้แทนจากภาครัฐและผู้แทนภาคประชาชน และศึกษาดูงานในพื้นที่มรดกโลกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2554 |
|
![]() ที่มาภาพ http://www.theatlantic.com/infocus/2011/10/worst-flooding-in-decades-swamps-thailand/100168/#img15 |
|
กิจกรรมในวันที่สอง เป็นการสัมมนา เรื่อง “การจัดการภัยพิบัติสาธารณะและผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม : ประสบการณ์จากประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น และไทย” โดยวิทยากรประกอบด้วยผู้พิพากษาจากประเทศอินเดีย ศาสตราจารย์จากประเทศญี่ปุ่น และ ตุลาการศาลปกครองไทย สำหรับรายละเอียดและภาพกิจกรรมดังกล่าวจะนำมาเผยแพร่ในคอลัมน์ “กิจกรรมสิ่งแวดล้อม” เร็วๆ นี้ นะคะ ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถติดตามชมได้ค่ะ |