มลภาวะหมอกควันข้ามพรมแดน |
มลภาวะหมอกควันข้ามพรมแดน Transboundary Haze Pollution |
|
ก้านมะลิ |
|
ปัญหามลภาวะในประเทศหนึ่ง อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในอีกประเทศหนึ่ง Satellite photograph of the 2006 haze above Borneo |
|
โรงงานปิโตรเคมี IRPC |
|
จากกรณีการเกิดระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานปิโตรเคมี IRPC ในจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดกลุ่มควันในวงกว้าง สร้างความตื่นตระหนกให้กับชุมชนในบริเวณใกล้เคียงและประชาชนที่พบเห็นภาพข่าว ซึ่งในเวลาต่อมา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงว่าเสียงระเบิดและกลุ่มควันดังกล่าวเกิดจากเพลิงไหม้ที่โรงงานแปรสภาพคอมไบน์แก๊สซึ่งเป็นหน่วยเตรียมวัตถุดิบ เพื่อส่งเข้าสู่โรงกลั่น ซึ่งทางบริษัทฯ สามารถควบคุมเพลิงให้อยู่ในวงจำกัดได้แล้ว และได้ส่งรถเคลื่อนที่ ออกตรวจวัดสภาพอากาศโดยรอบ พร้อมส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลผลกระทบตามชุมชนต่างๆ ด้วย แต่เบื้องต้นไม่มีรายงานว่ามีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ เมื่อกล่าวถึงมลพิษทางอากาศ อาจทำให้เรานึกถึงหมอกควันและไฟป่า ซึ่งหมอกควันในบ้านเรา มักเกิดจากควันจากการประกอบกิจการของโรงงานอุตสาหกรรมและควันจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ส่วนไฟป่าก็อาจทำให้เรานึกถึงกรณีไฟป่าที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย มลภาวะทางอากาศเหล่านี้ ย่อมสะสมอยู่ในสภาพแวดล้อมและสามารถแพร่กระจายไปได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด และในบางกรณี อาจยกระดับเป็นมลภาวะหมอกควันข้ามพรมแดนได้ (Transboundary Haze Pollution) ซึ่งต้องมีกลไก ในการบริหารจัดการและควบคุมดูแลที่มีประสิทธิภาพ ในประเทศไทย ศาลปกครองสูงสุดได้เคยวางหลักในคดีเกี่ยวกับมลพิษจากการประกอบกิจการ ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไว้ว่า โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย ส่วนการติดตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐ และศาลปกครองก็อาจมีคำสั่งให้ระงับโครงการหรือกิจกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ที่ยังไม่ได้ศึกษาและประเมินผลกระทบ รวมทั้งจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเสียก่อนได้ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 592/2552) ในปัจจุบัน มลภาวะหมอกควันข้ามพรมแดนเป็นปัญหาระหว่างประเทศ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบ ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือในระดับระหว่างประเทศ จึงได้เกิดความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลภาวะ หมอกควันข้ามพรมแดนขึ้น (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) ซึ่งเป็นความตกลงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ลงนามในปี ค.ศ. 2002 ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN โดยมีวัตถุประสงค์ ในการลดมลภาวะหมอกควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกัน และภายในปี ค.ศ. 2013 กลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN ทั้งหมด (ยกเว้นประเทศอินโดนีเชีย) ได้ให้สัตยาบันแก่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(แหล่งที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/ASEAN_Agreement_on_Transboundary_Haze_Pollution) |
|
![]() |
![]() |
นอกจากมลภาวะข้ามพรมแดนที่เป็นประเด็นพูดคุยในวันนี้แล้ว ยังมีเรื่องของกีฬาไร้พรมแดน คือ กีฬาฟุตบอล ที่ก้านมะลินำภาพบรรยากาศความคึกคักของคู่กรณีและสื่อมวลชนในวันอ่านคำพิพากษา ของศาลปกครองสูงสุด คดีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 ทางฟรีทีวี มาฝากกันด้วยค่ะ คดีนี้บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้ได้รับสิทธิในการถ่ายทอดสด ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เกี่ยวกับหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (must have) และมิให้นำประกาศดังกล่าวมาใช้กับ บริษัท อาร์เอสฯ โดยศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินให้ บริษัท อาร์เอสฯ ชนะคดี เนื่องจาก บริษัท อาร์เอสฯ ได้ซื้อลิขสิทธิ์ มาก่อนที่ประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถคลิกอ่านรายละเอียดได้จาก Press Release ข่าวศาลปกครอง ครั้งที่ 43/2547 ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ http://www.admincourt.go.th/attach/news_attach/2014/06/doc110657.pdf |
|
![]()
ที่มาภาพ: http://wilkessoccer.wordpress.com/ |